บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาการเริ่มเเรกโรคหัดเยอรมันเเละวิธีการรักษา


อาการเริ่มเเรกโรคหัดเยอรมันเเละวิธีการรักษา

หัดเยอรมันเป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการไข้และออกผื่นคล้ายหัด แต่มีความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าหัด เนื่องจากแพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้ที่ให้คำอธิบายว่า โรคนี้เป็นโรคใหม่ที่ต่างจากหัด โดยทั่วไปโรคนี้เรียกว่าหัดเยอรมันส่วนในบ้านเรามีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าเหือด โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง ถ้าเป็นในเด็กหรือผู้ใหญ่ทั่วไป มักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ที่สำคัญคือ ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าทารกในครรภ์ ทำให้เกิดการพิการได้ โรคนี้มักจะพบการระบาดในโรงเรียน โรงงาน ที่ทำงาน ช่วงที่มักจะเกิดโรคคือ เดือนมกราคมถึงเมษายน

เกิดจาก เชื้อหัดเยอรมันซึ่งเป็นไวรัสชื่อว่า รูเบลลา (Rubella)เชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วย ติดต่อได้โดยการไอ จาม หายใจรดกัน เช่นเดียวกับโรคหวัดหรือโรคหัด ระยะฟักตัว 14-21 วันต่อมน้ำเหลืองโต(ที่หลังหู หลังคอ และท้ายทอย)อาการ
มีไข้ต่ำๆ ถึงปานกลาง ร่วมกับเป็นผื่นเล็กๆ สีชมพูอ่อนๆ กระจายไปทั่ว ผื่นมักจะแยกกันอยู่ชัดเจน เริ่มที่หน้าผากชายผม รอบปาก และใบหูก่อนที่อื่น แล้วลงมาที่ลำคอ ลำตัว แขนขา อาจมีอาการคัน ผื่นมักขึ้นวันเดียวกับที่มีไข้ และมักจะหายได้เองภายใน 3-6 วัน โดยทั่วไปจะจางหายอย่างรวดเร็ว ไม่ทิ้งรอยดำให้เห็น บางรายอาจมีผื่นขึ้นโดยไม่มีไข้ก็ได้ บางรายอาจมีอาการแสบเคืองตา เจ็บคอเล็กน้อย ปวดเมื่อยตามตัวแต่ไม่มากนัก อาการทั่วไปไม่ค่อยรุนแรง บางรายอาจติดเชื้อหัดเยอรมันและไม่มีอาการก็ได้สิ่งตรวจพบ

ไข้ 37.5-38.5 องศาเซลเซียส ผื่นแดงเล็กน้อย กระจายอยู่ทั่วตัว ตาแดงเล็กน้อย ที่สำคัญซึ่งบ่งชี้ถึงโรคนี้ คือ มีต่อมน้ำเหลืองโต (คลำได้เป็นเม็ดตะปุ่มตะป่ำ) ตรงหลังหู หลังคอ ท้ายทอย และข้างคอทั้ง 2 ข้างอาการแทรกซ้อน อาจทำให้ข้อนิ้วมือ และนิ้วเท้าอักเสบเล็กน้อย สมองอักเสบอาจพบได้บ้างข้อสำคัญคือ ถ้าเป็นในหญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกอาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้พบทารกพิการถึงร้อยละ 10-50 ภายในเดือนที่ 2 พบได้ร้อยละ 14-25 ภายในเดือนที่ 3 และหลัง 3 ดือน พบได้ร้อยละ 0-5 อาการที่พบในทารกที่คลอดออกมา ต้อกระจก ต้อหิน หูหนวก หัวใจพิการที่พบบ่อย เช่น น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ ตับอักเสบ(ดีซ่าน) สมองอักเสบ ปัญญาอ่อน ซึ่งความพิการเหล่านี้อาจเกิดร่วมกัน หรือเกิดเพียงอย่างเดียวก็ได้การรักษา

ถ้าพบในเด็กหรือผู้ใหญ่ทั่วไปที่ไม่ตั้งครรภ์ ให้การรักษาตามอาการให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด ( 500 มิลลิกรัม )ทุก 4-6 ชั่วโมง ในเด็กให้ชนิดน้ำเชื่อม อายุต่ำกว่า 1 ปี 1/2 ช้อนชา อายุ 1-4 ปี 1 ช้อนชา อายุ 4-7 ปี ให้ 1 1/2 ช้อนชาในรายที่มีอาการคันให้ยาทาแก้ผื่นคัน คาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion)ทาบริเวณที่คัน วันละ 2-3 ครั้งถ้าพบในหญิงตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรกแนะนำผู้ป่วยให้ไปโรงพยาบาล อาจต้องตรวจเลือดพิสูจน์ถ้าเป็นจริง อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์ข้อแนะนำ

งานสุขศึกษายังเป็นหัวใจหลัก สำหรับงานทางด้านสาธารณสุข ดังนั้นควรให้ความรู้ประชาชนให้เข้าใจมากที่สุดเกี่ยวกับภาวะ และอาการของโรคโรคนี้เป็นแล้วมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิตหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคนี้ให้คุมกำเนิดไว้ 3 เดือน เพื่อความมั่นใจในระยะการระบาดของโรค สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรคุมกำเนิดไว้ก่อนจนพ้นการระบาดของโรคการป้องกันโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ครั้งแรกในตอนอายุ 9-15 เดือน สำหรับในท้องที่ห่างไกลในปัจจุบันนี้ได้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ ให้ในโรงเรียน นักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 และนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ผู้ปกครองที่มีข้อสงสัยบุตรหลานตนเองได้รับหรือไม่ให้สอบถามสถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชน อันตรายของโรคนี้ คือถ้าเป็นในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น